Translate

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมาชิกใหม่ ค่าง 5 สี








สวนสัตว์เปิดเขาเขียวได้สมาชิกมาเพิ่มอีกหนึ่งชนิดคือ ลูกค่างห้าสี ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา เวลา 05.00 น.จำนวน 1 ตัว เป็นเพศผู้ สุขภาพแข็งแรงดี ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่และพ่อเป็นอย่างดี และถือว่าเป็นตัวที่ 4 ของ สวนสัตว์อีกด้วย และในโอกาสนี้ ทางสวนสัตว์ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ชมความน่ารัก และความสวยงามของค่างห้าสีได้ทุกวัน
สำหรับค่างห้าสี Douc Langur ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pygathrix nemaeus ลักษณะทั่วไป ค่างห้าสีเป็นค่างที่มีสีสะดุดตามาก จัดเป็นค่างที่สวยงามที่สุดในโลก ตามตัวมีสีตัดกันถึง 5 สี ตัว และหัวมีสีเทา แต่ตรงหน้าผากมีสีเทาดำออกแดง หนวดเคราสีขาว หาง และก้นสีขาว ผิวหน้าเหลือง ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราว 2 เท่า และมีขนเป็นพู่ที่เอวทั้งสองข้าง ซึ่งตัวเมียไม่มี ชอบนอนเป็นส่วนใหญ่หลังจากกินอาหารแล้ว เลี้ยงยาก ลูกเป็นสีทองเหมือนค่างทั่วไป ถิ่นอาศัยพบในประเทศลาว เวียดนามเหนือ อินโดจีน การสืบพันธุ์ ค่างห้าสีนิสัยเงียบขรึมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ค่างห้าสีมีการสืบพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องประมาณ 196 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และจะกินพวกผักผลไม้เป็นอาหารอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนะนำบล็อกเพื่อน



   แนะนำบล็อกเพื่อน
วันนี้ขอนำเสนอบล็อกน่าสนใจ
1.บล็อกของ  ด.ญ.นนทิชา   โชหนู
ชื่อบล็อกคือ   http://mintnonticha.blogspot.com/
2.บล็อกของ ด.ญ.ลักษิณา  พลอยศรี
ชื่อบล็อกคือ   http://ploysiooo.blogspot.com/ 
3.บล็อกของ  ด.ญ.ชญานิศ  ประพันวงศ์
ชื่อบล็อกคือ  http://today9364.blogspot.com/
4.บล็อกของ ด.ญ.เมธาวี   แซ่หลิม
ชื่อบล็อกคือ http://maythawee2544.blogspot.com/
5.บล็อกของ ด.ญ.ภาฝัน  อุ่นพิชัย
ชื่อบล็อกคือ  http://077822292.blogspot.com/
6.บล็อกของ  ด.ญ.สิริกร  ทางทอง
ชื่อบล็อกคือ http://sirikorntt.blogspot.com/
7.บล็อกของ ด.ญ.ภัทรานิษฐ์ สุขประวิทย์
ชื่อบล็อกคือ  http://bellaanubanranong.blogspot.com/
8.บล็อกของ ด.ญ.ภูริชญา  ภูริปาณิก
ชื่อบล็อกคือ http://pikphurichaya.blogspot.com/
9.บล็อกของ ด.ญ.ธมนวรรณ  สุดถนอม
ชื่อบล็อกคือ http://creamy26112544.blogspot.com/
10.บล็อกของ ด.ญ.สุรัชดา  จันทร์ประดิษฐ์
ชื่อบล็อกคือ http://mildza12300.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Lemur Land (ลีเมอร์แลนด์)


Lemur Land (ลีเมอร์แลนด์)


สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เปิดกิจกรรมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เปิดกิจกรรมLemur Land (ลีเมอร์แลนด์)ให้อาหารลีเมอร์หางแหวนอย่างใกล้ชิดบนเกาะกลางน้ำ 

วันนี้เวลา 14.00 น.นายสุริยา แสงพงค์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว นำสื่อมวลชนชมกิจกรรมLemur Land” เป็นกิจกรรมใหม่ที่ทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับบรรยากาศการนั่งแพชมเกาะลีเมอร์หางแหวนซึ่งส่วนแสดงได้ถูกออกแบบไว้อย่างลงตัว ด้วยความสวยงามโดดเด่นของเกาะกลางน้ำที่นักท่องเที่ยวสามารถป้อนอาหารและถ่ายรูปคู่กับลีเมอร์หางแหวนได้อย่างใกล้ชิดและให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้ถึงชีวิตความเป็นอยู่ของลีเมอร์หางแหวน จำนวน 9 ตัว เป็นเพศผู้ 5 ตัว เพศเมีย 4 ตัว
 นายสุริยา แสงพงค์ กล่าวว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมใหม่ที่ให้นักท่องเที่ยวและนักเรียนนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการให้อาหารด้วยมือท่านเองและยังได้สัมผัสสัตว์อย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งได้ถ่ายรูปคู่กับฝูงลีเมอร์หางแหวนด้วยบัตรราคา ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท อาหารกล่องละ 20 บาท จะประกอบไปด้วยผลไม้ถั่วลิสงและใบไม้บางชนิดสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 038-318444 www.kkopenzoo.com
ลีเมอร์หางปล้อง หรือ ลีเมอร์หางแหวน Ring-tailed Lemur มีชื่อ วิทยาศาสตร์ Lemur catta วงศ์ Lemuridae ลักษณะทั่วไป ลีเมอร์หางปล้องเป็นใน Older Primates มีขนสีเทา ลักษณะเด่นอยู่ที่หางยาวฟูมีสีดำคาดเป็นปล้องๆ ตั้งแต่โคนหางจนถึงปลายหาง ปีนต้นไม้เก่งและว่องไว สามารถกระโดดจากกิ่งหนึ่งไปยังกิ่งหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 46 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 กก. หางยาวประมาณ 56 เซนติเมตร ซึ่งยาวกว่าลำตัว
      
       ลีเมอร์หางแหวนอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 25 ตัวถิ่นอาศัย พบอาศัยอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ในเกาะมาดากัสการ์ ทวีปอัฟริกา โดยลักษณะของพื้นที่อาศัยเป็นป่าผลัดใบ มีหญ้าปกคลุมพื้นล่าง หรือบริเวณป่าชายฝั่งแม่น้ำ ลีเมอร์ชนิดนี้จะอาศัยในพื้นที่ที่สูงกว่าลีเมอร์ชนิดอื่นๆ กินผลไม้และยอดไม้เป็นอาหาร โดยเฉพาะมะขามเป็นอาหารโปรด อาหารอื่นๆ ได้แก่ ยอดไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ รวมถึงยางไม้บางชนิดด้วย นอกจากนั้นยังกินแมลง ไส้เดือน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดด้วย
 

เว็บของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว



 วันนี้ขอนำเสนอเว็บของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว http://www.kkopenzoo.com/home.php

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จุดประสงค์ในการจัดตั้งบล็อกนี้ขึ้นมา


จุดประสงค์ในการจัดตั้งบล็อกนี้ขึ้นมา

                              ข้าพเจ้าจัดทำบล็อกสวนสัตว์เปิดเขาเขียวขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่บุคคล

     ทั่วไปและถ้าข้าพเจ้าเขียนอะไรผิดก็ขออภัยมา  ณ  ที่นี้ด้วย   


วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บ่อจระเข้


                                                                  บ่อจระเข้


           ด้านข้างๆ ของกรงแพะก็มีบ่อจระเข้อยู่ด้วย เมื่อยืนดูอยู่นานมากรู้สึกได้ถึงใบหน้าที่ไร้อารมณ์ แต่อีกมุมก็ดูสุขุมลุ่มลึกทีเดียว



จระเข้  เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia)  มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา"ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ
จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร  เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย

ฮิปโป


                                                               ฮิปโป

      
                        ฮิปโป ซึ่งป้ายหน้าบ่อฮิปโป ดูน่ากลัวและน่าเกรงขามราวกับราชสีห์

 
ฮิปโป ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hippopotamidae ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำมากกว่าบนบก หนังหนาสีน้ำตาล จมูก หู และตาอยู่ตอนบนของหัว เพื่อสะดวกในการมอง และหายใจขณะอยู่ในน้ำ