Translate

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สวนละมั่ง




                                                                     สวนละมั่ง
 
 
กิจกรรมสนุกๆ ที่สวนละมั่งแห่งนี้ก็คือการได้เล่นกับละมั่ง! เช่น ป้อนอาหาร, ลูบหัว, ถ่ายรูปละมั่งแบบใกล้ๆ
                 บนพื้นที่ที่เป็นสนามหญ้ากว่า 3 ไร่ ของสวนละมั่งถูกออกแบบไว้สำหรับการเป็นสวนสัตว์เปิดที่นักท่องเที่ยวสามารถนำรถส่วนตัวเข้าไปชมสัตว์ภายในได้ หรือหากไม่สะดวกทางสวนสัตว์ยังมีบริการรถพ่วงที่จะนำท่านเข้าชมส่วนแสดงนี้ได้ จุดเด่นของส่วนแสดงละมั่งนี้คือ กิจกรรมการให้อาหารสัตว์ที่สวนสัตว์มีบริการอาหารสัตว์ไว้จำหน่ายเพื่อนำไปเลี้ยงละมั่ง พร้อมกับนักเที่ยวจะสามารถถ่ายรูปกับละมั่งได้อย่างใกล้ชิด
ในส่วนแสดงละมั่งได้จัดบรรยากาศของสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น และมีที่นั่งพักผ่อนของนักท่องเที่ยว จัดเป็นส่วนแสดงที่ติดอันดับ1 ใน 10 ของส่วนแสดงที่มีอยู่ทั้งหมดของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
 
 
 
ละมั่ง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน
ในตัวผู้จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150-170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220-250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95-150 กิโลกรัม
ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดได้แก่
  • ละองละมั่งพันธุ์ไทย หรือ ละองละมั่งอินโดจีน  มีลักษณะสีขนอย่างที่บอกข้างต้น เขาจะโค้งขึ้น กางออกแล้วโค้งไปข้างหน้าคล้ายตะขอ ปลายเขาจะแตกออกเป็นแขนงเล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ที่ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันนี้มีฝูงใหญ่ที่สุดที่สวนสัตว์ดุสิต
  • ละองละมั่งพันธุ์พม่า หรือ ตามิน ในภาษาพม่า  มีหน้าตาคล้ายละองละมั่งพันธุ์ไทย แต่สีขนจะออกสีน้ำตาลเหลือง กิ่งปลายเขาจะไม่แตกแขนงเท่าละองละมั่งพันธุ์ไทย พบกระจายพันธุ์อยู่ที่ตะเข็บชายแดนระหว่างไทยกับพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี
ละองละมั่ง จะอาศัยและหากินในทุ่งหญ้าโปร่ง ไม่สามารถอยู่ในป่ารกชัฏได้ เนื่องจากเขาจะไปติดกับกิ่งไม้เหมือนสมัน  อาหารหลักได้แก่ หญ้า ยอดไม้ และผลไม้ป่าต่าง ๆ เป็นสัตว์ที่ชอบรวมฝูง ในอดีตอาจพบได้มากถึง 50 ตัว บางครั้งอาจเข้าไปหากินและรวมฝูงกับสัตว์ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า อย่าง วัวแดง  หรือ กระทิง  เพื่อพึ่งสัตว์เหล่านี้ในความปลอดภัย มีฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ตั้งท้องนาน 8 เดือน สถานภาพปัจจุบันเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว และเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ละองละมั่งที่พบในธรรมชาติ ปัจจุบันนี้ ส่วนมาก เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์โดยมนุษย์
ในกลางปี พ.ศ. 2554 ในประเทศไทย โดยองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประสบความสำเร็จในการผลิตละองละมั่งในหลอดแก้วเป็นครั้งแรกในโลก โดยแม่ละมั่งที่รับอุ้มท้องได้ตกลูกออกมาเป็นเพศเมียเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ปีเดียวกัน ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี โดยเป็นละองละมั่งพันธุ์พม่า





 








 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น